ทำไมต้องทำ ประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์ ทำแล้ว เคลมอะไรได้บ้าง?
ประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์
ความคุ้มครองที่รับประกันภัยความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
- ป้องกันความเสี่ยง: แม้ว่าแพทย์จะปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง แต่ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ การทำประกันช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการฟ้องร้อง
- ลดภาระและความเสี่ยงทางการเงิน: หากเกิดเหตุการณ์ที่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย การมีประกันจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วย: การมีประกันแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของแพทย์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับการรักษา ที่สำคัญยังสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์ ในการรักษา ต่างๆได้อีกด้วย
- สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ: ในหลายประเทศ การมีประกันความรับผิดเป็นข้อกำหนดสำหรับการประกอบวิชาชีพแพทย์
เคลมอะไรได้บ้าง
โดยทั่วไป ประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยหรือญาติมาเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องมาจากความผิดพลาดทางการแพทย์ เช่น
- ค่าสินไหมทดแทน: ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม ค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ ค่าความเสียหายทางจิตใจ
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี: ค่าทนายความ ค่าพยาน ค่าเดินทาง
- ค่าใช้จ่ายในการป้องกันคดี: ค่าประกันตัว ค่ามัดจำ
สิ่งที่ประกันไม่คุ้มครอง
- ความผิดพลาดโดยเจตนา: เช่น การกระทำผิดทางอาญา การกระทำที่ขาดความรับผิดชอบอย่างร้ายแรง
- การรักษาที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างชัดเจน: หากมีหลักฐานว่าแพทย์กระทำผิดพลาดโดยไม่คำนึงถึงความรู้และทักษะทางการแพทย์
- การให้บริการเสริมความงาม: เช่น การศัลยกรรมตกแต่ง การฉีดโบท็อกซ์
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกซื้อประกัน
- วงเงินความคุ้มครอง: เลือกวงเงินที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของการประกอบวิชาชีพ
- ขอบเขตความคุ้มครอง: ตรวจสอบรายละเอียดของสิ่งที่ประกันคุ้มครองและไม่คุ้มครอง
- บริษัทประกัน: เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในการให้บริการประกันความรับผิดวิชาชีพ
- ค่าเบี้ยประกัน: เปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันจากหลายๆ บริษัท เพื่อเลือกแผนที่คุ้มค่าที่สุด
คำแนะนำเพิ่มเติม
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ก่อนตัดสินใจทำประกัน ควรปรึกษาตัวแทนหรือที่ปรึกษาประกันภัย เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมกับความต้องการ
- อ่านสัญญาอย่างละเอียด: ควรอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขในสัญญาประกันภัยให้ชัดเจนก่อนทำสัญญา
- แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน: เมื่อทำประกัน ควรแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงานและความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพให้ครบถ้วน
ด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ ของอินชัวร์ฮับ ที่มีประสบการณ์และความชำนาญด้านประกันภัย จึงมั่นใจได้ว่าอินชัวร์ฮับพร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีผู้เสียหายร้องเรียนจนกระทั่งคดีความสิ้นสุดลง หายห่วงได้เลย เหมือนมี เลขาและทนายส่วนตัว ไปพร้อมกัน
แผนประกันที่จะมาแนะนำในวันนี้เป็น ของ กรุงเทพประกันภัย และ ทิพยประกันภัย

ให้ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมาย อันเนื่องมาจากการบาดเจ็บทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยซึ่งเกิดจากการรักษา หรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้บริการทางการแพทย์โดยไม่ตั้งใจ ดังนี้
- คุ้มครองการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เอาประกันภัย
- คุ้มครองค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ใช้ในการต่อสู้คดี คุ้มครองสูงสุด 6,000,000 บาท
ไม่มีความรับผิดส่วนแรก - ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่เริ่มทำประกันภัยเพียงต่ออายุความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง
ประกันวิชาชีพแพทย์ ของกรงเทพประกันภัย มี 2 แผน
- แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 1
1,000,000 บาท /ครั้ง
3,000,000 บาท /ปี - แผน วงเงินความคุ้มครอง แผน แผน ที่ 2
2,000,000 บาท /ครั้ง
6,000,000 บาท/ปี
- แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 1
เบี้ยประกันภัยจะแบ่งตาม กลุ่มของแพทย์
กลุ่มที่ 1
อายุรแพทย์ จิตแพทย์ พยาธิแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
- แผน 1 เบี้ยประกัน10,440 ต่อปี
- แผน 2 เบี้ยประกัน14,800 ต่อปี
กลุ่มที่ 2
จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัด ทันตแพทย์ แพทย์หู คอ จมูก
แพทย์ทางรังสีวิทยา แพทย์ทางโลหิตวิทยา แพทย์ทางมะเร็งวิทยา
แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ กุมารแพทย์ แพทย์ออโธปิดิกส์ - แผน 1 เบี้ยประกัน11,600 ต่อปี
- แผน 2 เบี้ยประกัน16,440 ต่อปี
กลุ่มที่ 3
วิสัญญีแพทย์ สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก - แผน 1 เบี้ยประกัน12,900 ต่อปี
- แผน 2 เบี้ยประกัน18,260 ต่อปี
ข้อยกเว้น
- การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครอง
- การให้บริการทางการแพทย์นอกเหนือขอบเขตวิชาชีพ
- การรักษาผิดพลาดที่กระทำการก่อนทำประกันภัย
- การฟ้องร้องนอกประเทศไทย หรือคำตัดสินที่เกิดขึ้นนอกประเทศไทย
- การบริการเสริมความงาม รักษาสิว ผิวพรรณ ให้ยาเพื่อลดน้ำหนัก
- การปฏิบัติการของธนาคารเลือด เว้นแต่เป็นที่ซึ่งมีการจัดหาเลือด
หรือ Blood Product เพื่อการใช้ปฏิบัติการของผู้เอาประกันภัย - การปฏิบัติการของทันตแพทย์และทันตศัลยแพทย์เกี่ยวกับการให้ยาสลบ
และปฏิบัติการที่ดำเนินไปภายใต้การให้ยาสลบ เว้นแต่กระทำภายในโรงพยาบาล - ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีหรือการเปรอะเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
การให้บริการขณะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งเสพติด หรือสิ่งมึนเมา - การกระทำผิดโดยเจตนา ประสงค์ร้าย การกระทำผิดทางอาญา
- ความผิดพลาดจากการทดลองทางการแพทย์

ประกันวิชาชีพแพทย์ ของทิพยประกันภัย มี 4 แผน
- แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 1
1,000,000 บาท /ครั้ง
2,000,000 บาท /ปี - แผน วงเงินความคุ้มครอง แผน แผน ที่ 2
2,000,000 บาท /ครั้ง
4,000,000 บาท/ปี - แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 3
3,000,000 บาท /ครั้ง
6,000,000 บาท /ปี - แผน วงเงินความคุ้มครอง แผน แผน ที่ 4
1,000,000 บาท /ครั้ง
3,000,000 บาท/ปี - แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 5
2,000,000 บาท /ครั้ง
6,000,000 บาท /ปี
- แผน วงเงินความคุ้มครองแผน ที่ 1
วงเงินคุ้มครอง:
วงเงินคุ้มครองของแผนประกันวิชาชีพแพทย์ จะมีตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป
แพทย์ หรือ คุณหมอ ควรเลือกวงเงินคุ้มครองที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของงาน โดยอาจจะเลือกแผน 2,000,000 หรือ 3,000,000 บาท ขึ้นไป เพราะตอนนี้ การฟ้องร้องโดยทั่วไป ไม่ค่อยมีการฟ้องร้องแค่เพียง 1,000,000 บาท แล้วครับ
ถ้าทำทุนประกันน้อย ก็จะทำให้ต้องรับผิดชอบส่วนต่างตามที่ ศาลท่านตัดสินครับ
เช่น ทำทุนประกันไว้ 1,000,000 บาท ศาลตัดสิน ให้ชดเชย 2,000,000 บาท ประกันจะคุ้มครอง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือต้องรับผิดชอบเอง
ในบางกรณี ถ้าประเมินความเสี่ยงแล้วมีความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องที่สูงกว่าทุนประกัน อาจจะทำแผนประกัน 2 บริษัทประกัน ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ ดังนั้น แพทย์ ผ้ที่ให้การรักษา ก็ถือว่าเป็นผ้ที่มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง ได้ตลอดเวลา ต้องมีความระมัดระวัง และละเอียดถี่ถ้วนอยู่ตลอดเวลา อาจจะทำให้มีความตึงเครียดสูง การทำประกันวิชาชีพแพทย์ นั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะช่วยลดความตึงเครียดและเป็นหลักประกันในการถูกฟ้องร้องได้เป็นอย่างดี ครับ