ประกันคีย์แมน (Keyman)
ประกันคีย์แมน(Keyman) เป็นการทำประกันชีวิตบุคคลสำคัญในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของหุ้นส่วน หรือ กรรมการ ต่างๆ ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร หนังสือจดทะเบียนการค้า ต้องทำทุกคนในระดับตำแหน่งเดียวกันไม่สามารถเลือกทำให้คนใดคนหนึ่งได้ หรือ ผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด โดยบริษัทเป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน เพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแล้วจึงนำไปลดภาษีเงินได้ ของบริษัท และ เจ้าของกิจการ หุ้นส่วน ผู้บริหาร ต่างๆในระดับเดียวกัน ก็จะได้รับความคุ้มครองชีวิต และ รับผลประโยชน์ต่างๆตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ประกันคีย์แมน(Keyman) คือประกันชีวิต มีรูปแบบที่ทำได้ดังนี้
ไม่สามารถทำประกันชีวิตควบคู่การลงทุนได้ (ยูนิตลิงค์ หรือ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์)
ค่าเบี้ยประกันสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้โดย บริษัทชำระเบี้ย ประกัน Keyman (คีย์แมน) แล้วสามารถนำค่าเบี้ยประกันที่จ่ายออกไป มาเป็นรายจ่ายของบริษัทได้ เมื่อมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น ส่วนของการเสียภาษีก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นบริษัทต่างๆจึงควรมีการวางแผนด้านการลงทุนเพื่อลดภาระด้านภาษีลง และ Keyman ต่างๆ ก็จะมีผลประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย
ประกันคีย์แมน(Keyman) อาจจะมีเงินคืนระหว่างสัญญา หรือ เงินครบสัญญาจากประกัน เงินส่วนนี้ที่ Keyman ได้รับจาก บริษัทประกัน พร้อมดอกเบี้ยต่างๆนั้น Keyman ไม่ต้องเสียภาษี เพราะฉะนั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางการวางแผนการเงิน ที่ได้ผลดีทั้งส่วนของบริษัท และ ส่วนของ Keyman ด้วย ดังนั้นการทำ ประกัน เหมือนเป็นสวัสดิการออมเงินให้กับ Keyman จากบริษัท ของตนเอง
Keymanสามารถนำค่าเบี้ยประกัน ที่มีความคุ้มครองเกิน 10 ปี มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ Keyman ได้ตามจำนวนเบี้ยที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขที่ สรรพากร กำหนดไว้
เช่น บริษัททำ ประกันคีย์แมน(Keyman) แบบบำนาญ ก็เหมือนการวางแผนการออมเงินไว้ให้ บุคคลสำคัญของบริษัท เมื่อประกันครบสัญญา บุคคลสำคัญ ก็จะมีเงินบำนาญหลังเกษียณจากบริษัท โดยที่บริษัทได้ลดภาระด้านภาษีลงทุกปีที่มีการชำระค่าเบี้ยประกัน ผู้บริหาร กรรมการ เจ้าของ ต่างๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อได้รับผลประโยชน์จากการครบสัญญาการทำประกันเช่นกัน ในระหว่างสัญญา Keyman สามารถนำ ค่าเบี้ยประกัน ที่มีความคุ้มครองเกิน 10 ปี มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ Keyman ได้ตามจำนวนเบี้ยที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินเงื่อนไขที่ สรรพากร กำหนดไว้
ความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ทำประกัน Keyman (คีย์แมน) และ บริษัทที่ไม่ได้ทำประกัน
ตัวอย่างบริษัทที่มีกำไรก่อนหักภาษี 1,500,000 บาท
งบการเงิน | บริษัทที่ทำ ประกันคีย์แมน | บริษัทที่ไม่ได้ทำประกัน |
รายได้รวม | 5,000,000 | 5,000,000 |
รายจ่ายรวม | 3,500,000 | 3,500,000 |
รายจ่าย เบี้ย ประกัน Keyman ที่นำมารวมกับรายจ่าย | 300,000 | - |
กำไรก่อนหักภาษี | 1,200,000 | 1,500,000 |
อัตราภาษีนิติบุคคล 20% ของกำไรก่อนหักภาษี | 240,000 | 300,000 |
ลดภาระทางภาษีลง | (60,000) | 0 |
ตัวอย่างบริษัทที่มีกำไรก่อนหักภาษี 3,000,000 บาท
งบการเงิน | บริษัทที่ทำ ประกันคีย์แมน | บริษัทที่ไม่ได้ทำประกัน |
รายได้รวม | 10,000,000 | 10,000,000 |
รายจ่ายรวม | 7,000,000 | 7,000,000 |
รายจ่าย เบี้ยประกัน Keyman ที่นำมารวมกับรายจ่าย | 700,000 | - |
กำไรก่อนหักภาษี | 2,300,000 | 3,000,000 |
อัตราภาษีนิติบุคคล 20% ของกำไรก่อนหักภาษี | 460,000 | 600,000 |
ลดภาระทางภาษีลง | (140,000) | 0 |
จากตารางก็จะเห็นได้ว่า บริษัทที่ทำประกันนั้นก็จะลดภาระทางภาษีลงได้ และส่วนของเจ้าของกิจการ กรรมการ ก็ได้รับความคุ้มครองและผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบต่างๆ ที่บริษัทได้เลือกแบบประกันไว้ให้ โดยที่ Keyman ทุกคนนั้นไม่ต้องชำระเบี้ยประกันเอง
การให้ความสำคัญกับบุคคลสำคัญของบริษัท เจ้าของกิจการ หุ้นส่วน กรรมการต่างๆ และการวางแผนภาษีของบริษัทนั้นสำคัญ การลดภาระภาษีของบริษัท และด้านของ Keyman ก็ได้ทั้งความคุ้มครอง การออมเงิน กำไรจากดอกเบี้ยของการทำประกัน ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาถ้าทำประกันคุ้มครองเกิน 10 ปี สามารถมาปรึกษา วางแผนภาษี และ ขั้นตอนต่างๆของการทำบัญชีให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ สรรพากรกำหนด ให้ อินชัวร์ฮับ แนะนำได้เลยนะครับ เรามีทีมงานมืออาชีพมีประสบการณ์จริงใน ด้านประกันทุกรูปแบบ ด้านการบัญชี ด้านการเงิน ด้านการลงทุน มั่นใจได้ชัวร์ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารและขั้นตอนต่างๆ ให้คำปรึกษาตลอดสัญญา ประกัน “ดีชัวร์” มีที่ อินชัวร์ฮับโบรกเกอร์