มี รถไฟฟ้า อยู่แล้ว หรือ อยากมีรถไฟฟ้า EV Cars ต้องรู้เกณฑ์ใหม่ของประกันรถไฟฟ้า EV CARS บังคับใช้จริง 1 มิ.ย. 2567
ช่วงนี้กระแส รถไฟฟ้า กำลังมาแรง เพื่อนๆหลายคนสนใจที่จะมีไว้ในครอบครอง เพื่อใช้งานแทนรถยนต์ที่เติมน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันในขณะนี้ไม่เป็นมิตรต่อรายได้เลย วันนี้อินชัวร์ฮับจะมาแนะนำ รายละเอียดเกี่ยวกับ ประกัน รถไฟฟ้า ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับกระแส รถไฟฟ้า ที่จะมีกันมากขึ้นในเร็ววันนี้
เกณฑ์ใหม่ของประกันรถไฟฟ้า EV CARS บังคับใช้จริง 1 มิ.ย. 2567
ซึ่งข้อกำหนดนี้ได้เริ่มให้บริษัทประกันได้ปรับเปลี่ยนมาตั้งแต่ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 แต่ถ้าหากบริษัทประกันภัยไหนไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันก็มีเวลาเตรียมตัวไปจนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ที่ทุกบริษัทประกันภัยจะต้องถูกบังคับใช้เงื่อนไขในคำสั่งฉบับนี้
ความคุ้มครองแบตฯ ที่เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
จากเกณฑ์ใหม่ประกันรถEV ฉบับนี้ จะมีผลโดยตรงกับความคุ้มครองแบตเตอรี่ High-Voltage ของรถไฟฟ้า EV Cars จากความคุ้มครอง 100% จะคุ้มครองน้อยลงเรื่อยๆ ตามอายุการใช้งาน
ในกรณีเปลี่ยนแบตเตอรี่ High Voltage ใหม่ทั้งชุด โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่เกิน 1 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 100% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่เกิน 2 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 90% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่เกิน 3 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 80% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่เกิน 4 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 70% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่เกิน 5 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 60% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
- อายุการใช้งานแบตเตอรี่เกิน 5 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่ 50% ต่อราคาของแบตเตอรี่จากผู้จำหน่าย
เมื่อบริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายเรียบร้อยแล้ว เจ้าของรถและบริษัทประกันภัยจะมีส่วนเป็นเจ้าของซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วนเดียวกับเกณฑ์ที่ชดใช้ไป เมื่อแบตเตอรี่ก้อนที่เสียหายถูกขายได้ บริษัทประกันภัย ก็จะต้องแบ่งเงินมาให้กับเจ้าของรถตามสัดส่วน ด้านบนตามเอกสาร
ตัวอย่าง ทำประกันรถไฟฟ้าไว้ แล้ว เกิดอุบัติเหตุทำให้แบตเตอรี่ High Voltage เสียหาย ในปีที่ 2 ทำให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ทั้งชุด
ราคาแบตเตอรี่ 1,000,000 บาท บริษัทประกันจะจ่ายให้ 900,000 บาท ส่วนเจ้าของรถต้องออกส่วนที่เหลือ 100,000 บาท ก็คือ บริษัทประกันคุ้มครองให้ 90% ตามสัดส่วนด้านบน และ เมื่อซากแบตเตอรี่ก้อนเดิมถูกขายได้ บริษัทประกันจะต้องจ่ายเงินให้เจ้าของรถจากยอดขายแบตเตอรี่ก้อนเดิมเป็นสัดส่วน 10% จากการที่ขายซากแบตเตอรี่ ได้นั้นเอง
ในอนาคตอาจจะมีการซื้อความคุ้มครองแบตเตอรี่ 100% เพิ่มได้แต่ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย ต้องติดตามตอนต่อไปนะครับ
ประกันรถไฟฟ้า EV CARS ต้องระบุผู้ขับขี่ ได้สูงสุด 5 คน
อีกส่วนหนึ่งที่เกณฑ์ใหม่ประกันรถไฟฟ้า EV CARS ที่มาเปลี่ยนแปลงก็คือ ‘การระบุผู้ขับขี่’ เมื่อทำประกันภัยรถยนต์ จากก่อนหน้านี้ ‘การระบุผู้ขับขี่’ เป็นเพียงตัวเลือกให้เจ้าของรถหลายๆ คนเลือกใส่เงื่อนไขเข้าไปเพิ่มเพื่อแลกรับส่วนลด
ในปี 2567 ที่จะถึงนี้ ‘การระบุผู้ขับขี่’ จะไม่ได้เป็นตัวเลือก แต่จะกลายเป็นเงื่อนไขที่ต้องระบุชื่อก่อนที่จะทำประกันรถไฟฟ้า EV CARS โดยแนวทางนี้จะทำให้บริษัทประกันภัย และ คปภ. สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับแต่ละคน และนำมาเป็นส่วนลดสูงสุดถึง 40% แต่ถ้า มีเพื่อนนำรถของเราไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ และไม่ได้มีชื่อที่ระบุผู้ขับขี่ไว้ในกรมธรรม์ นั้นประกันก็จะคุ้มครองถ้าเป็นฝ่ายถูก หากเป็นฝ่ายผิดก็คุ้มครอง แต่ก็จะต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกตามเอกสารกรมธรรม์ ซึ่งแต่ละบริษัทประกันอาจจะมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่ 2,000 – 8,000 บาท แล้วแต่เงื่อนไข ของบริษัทประกัน
เนื่องจากมีการ ระบุผู้ขับขี่ ในอนาคต ราคาเบี้ยประกัน รถไฟฟ้า ก็จะถูกลง เช่นกัน หากมีรถไฟฟ้า อยากหาประกันรถไฟฟ้า ที่ราคาเหมาะสม ความคุ้มครองที่ดี สามารถปรึกษาอินชัวร์ฮับได้เลยครับ เรามีบริษัทประกันที่เป็นคู่สัญญามากกว่า 30 บริษัท