Co-Payment กำลังจะมาเราเตรียมตัวรับมือยังไงดี?

Co-Payment กำลังจะมาเราเตรียมตัวรับมือยังไงดี?

Co-Payment กำลังจะมาเราเตรียมตัวรับมือยังไงดี?

มาทำความเข้าใจเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment) ก่อน

ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2568 เงื่อนไข Co-Payment (การร่วมจ่าย) ที่เรียกสั้นๆว่า Co-Pay จะถูกนำมาใช้บังคับสำหรับแผนประกันสุขภาพทุกแผนในเมืองไทย ทำให้เรา ๆ ในฐานะผู้บริโภคย่อมได้ผลกระทบไปเต็มเลยนั้น ก็ควรทำความเข้าใจเงื่อนไขของส่วนร่วมจ่าย (Co-Payment) ไว้ก่อนเพราะจะได้เข้าใจหลักการและแนวคิดของเงื่อนไขหลัก ๆ โดยสามารถสรุปได้เป็น 3 กรณี

  • กรณีที่ 1: ถ้าโรคที่เบิกเป็นโรคอย่างง่าย หรืออาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ได้ใช้สิทธิ์นอนโรงพยาบาล โดย
    • เคลมจำนวนตั้งแต่ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และ
    • ยอดที่เบิกไปมียอดตั้งแต่ 200% ของส่วนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
    • ผลลัพท์ ร่วมจ่าย Co-Pay 30% ของทุกการรักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป
  • กรณีที่ 2: ถ้าเป็นการเบิกด้วยอาการไม่สบายทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่)
    • เคลมจำนวนตั้งแต่ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และ
    • ยอดที่เบิกไปมียอดตั้งแต่ 400% ของส่วนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
    • ผลลัพท์ ร่วมจ่าย Co-Pay 30% ของทุกการรักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป
  • กรณีที่ 3: มีการเคลมโดยเข้าเงื่อนไขกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2
    • ผลลัพท์ ร่วมจ่าย Co-Pay 50% ของทุกการรักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป
Click me! อ่านรายละเอียด Co-Payment เพิ่มเติม

โดนในมุมปฎิบัตินั้นเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment) จะมีเรื่องที่เราต้องเข้าใจเพิ่มเติมคือ

  • เมื่อเราเคลมจนเข้าเงื่อนไขที่จะมีส่วนร่วมจ่ายแล้วนั้น เราจะได้รับหนังสือแจ้งเงื่อนไขส่วนร่วมจ่ายโดยจัดส่งให้กับเราล่วงหน้า 15 วันก่อนครบกำหนดต่ออายุ
  • กรณีถ้าเพื่อน ๆ ติดเงื่อนไขส่วนร่วมจ่าย (Co-Payment) แล้วไม่ใช่เงื่อนไขนี้จะติดกับเราตลอดไป ถ้าเพื่อน ๆ เคลมน้อยลงอีกปีถัดไปบริษัทประกันก็จะถอดเงื่อนไข Co-Payment ออกไป
  • เงื่อนไขส่วนร่วมจ่ายจะใช้สำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยในเท่านั้น (IPD) โดยไม่รวมการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
  • ถ้ากรมธรรม์ของเพื่อน ๆ มีเงื่อนไขค่าใช้จ่ายส่วนแรก (Deductible) อยู่ก็จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนแรกให้ครบก่อนแล้วค่อนมาคำนวณเงื่อนไขร่วมจ่าย ( 30% หรือ 50%)

โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จากเงื่อนไขของเอกสารสมาคมประกันชีวิตไทย จะมีรายละเอียดค่อนข้างชัดแต่ทั้งนี้ทางอินชัวร์ฮับเชื่อว่าในการปฎิบัติของบริษัทประกัน น่าจะมีความยุ่งยากอยู่พอสมควร ดังนั้นถ้าเราพอเข้าใจหลักการที่เป็นวิธีคิดของการร่วมจ่าย (Co-Payment) แล้วจะทำให้เราสามารถตัดสินใจ หรือต่อรองกับบริษัทประกันได้ดีมากขึ้น

แล้วเราเตรียมตัวรับมือ Co-Payment อย่างไร?

  1. รีบทำประกันก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2568 เพราะกรมธรรม์ที่มีผลบังคับก่อนวันที่ดังกล่าว จะไม่เข้าเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment)
  2. สำหรับคนที่ถือกรมธรรม์ที่สัญญาเริ่มก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2568เราจำเป็นต้องไม่ปล่อยให้กรมธรรม์ขาดอายุ (ต้องต่ออายุอย่างต่อเนื่อง) โดยถ้าเราเผลอลืมต่ออายุกรมธรรม์จนทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ การต่อกรมธรรม์เดิมจะทำให้เรามีเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment) โดยอัตโนมัติ
  3. ศึกษาสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพอื่น ๆ ที่ช่วยลดการเคลมของประกันส่วนตัวลงได้
ใช้ประกันกลุ่ม (Group Insurance) ก่อนประกันสุขภาพส่วนตัว: ประกันกลุ่มคือสวัสดิการของบริษัทที่เพื่อน ๆ ได้มาจากการทำงาน โดยปกติแล้วการเข้าโรงพยาบาล 1 ครั้งเราสามารถใช้ประกันหลาย ๆ เล่มเพื่อคุ้มครองเราได้ โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะเคลมประกันจากเล่มใดก่อน จากข้อมูลข้างต้น ถ้าเพื่อน ๆ เลือกที่จะใช้ประกันกลุ่มก่อนนั้นจะช่วยให้ยอดเคลมไม่เกิดขึ้นในเล่มของประกันส่วนตัว กรมธรรม์ของเพื่อน ๆ ก็จะยากที่จะเข้าเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment)

ใช้สวัสดิการภาครัฐ เช่นเดียวกับประกันกลุ่ม ถ้าเรามีสวัสดิการจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือประกันสังคม เราสามารถพิจารณาการรักษาด้วยสวัสดิการดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงการนับยอดเคลมที่จะเข้าเงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment)

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • เลือกแผนประกันที่ยังไม่บังคับใช้เงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment): ตอนนี้บางบริษัทประกันเริ่มปรับให้มี Co-Payment บังคับใช้ในประกันสุขภาพบ้างแล้ว แต่อินชัวร์ฮับ ยังมีประกันสุขภาพ แผนอื่นๆ จากหลายๆบริษัทที่ยังไม่มีการบังคับใช้

เงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment) ในประกันสุขภาพที่กำลังจะถูกบังคับนั้น เพื่อน ๆ จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวรับมือล่วงหน้าจะช่วยให้สามารถวางแผนการเงินและใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสุขภาพได้อย่างคุ้มค่า ถึงแม้หลังประกาศใช้เงื่อนไขการร่วมจ่าย (Co-Payment) แล้วทางอินชัวร์ฮับเชื่อว่าการวางแผนประกันสุขภาพก็ยังทางเลือกที่จำเป็นสำหรับการวางแผนอนาคต โดยถ้าเพื่อน ๆ มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการร่วมจ่ายนี้สามารถสอบถามทางแอดมินได้เลยค่ะ ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญไว้คอยตอบคำถามเพื่อน ๆ ให้สามารถสบายใจหายห่วงแน่นอนค่ะ

ลองคุยก่อน เปลี่ยนใจได้ทุกเมื่อ

ให้ InsureHub ดูแลคุณ คุณสามารถกรอกข้อมูล เพื่อให้ผู้เชียวชาญของเราติดต่อคุณกลับ ในการเลือก ประกันที่คุณถูกใจ

    กรุณาฝากข้อความ ชื่อ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด