มะเร็งเต้านม ภัยร้ายที่ผู้หญิงต้องรู้
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก โดยพบได้ประมาณ 25% ของมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิง มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ในเต้านมมีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก สมอง จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
โดด นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้กล่าวว่า สถานการณ์โรคมะเร็งของไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข
ประเภทของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง | จำนวน |
มะเร็งเต้านม | 38,559 |
มะเร็งปากมดลูก | 12,956 |
ช่วงอายุ ที่พบบ่อย | จำนวน |
50 – 59 | 12,181 |
40 – 49 | 5,177 |
จากตารางแสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก



รวมถึง สถิติ จากสถาบันมะเร็งก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น โรคมะเร็งเต้านม จึงเป็นภัยร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต้องใส่ใจในการตรวจสอบ ร่างกายด้วยตนเองเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แต่ก็มีบางปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงของ มะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ได้แก่
- ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
- หญิงที่ มีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย
- ประวัติครอบครัว ผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้หญิงที่มียีน BRCA1 หรือ BRCA2 ก็มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงที่สัมผัสกับรังสีเอกซ์หรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยาฮอร์โมนทดแทน ก็มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
อาการเบื้องต้นของมะเร็งเต้านม
อาการของมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจมีอาการดังต่อไปนี้
- คลำพบก้อนที่เต้านมหรือบริเวณรักแร้
- หัวนมบุ๋มลง
- มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกทางหัวนม
- เต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีขนาดหรือรูปร่างเปลี่ยนไป มีรอยบุ๋มหรือรอยย่น
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีสีแดงหรือบวม
- มีผื่นหรือตกสะเก็ดบริเวณหัวนม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นวิธีที่สามารถช่วยตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรก ซึ่งจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่นิยมมีดังนี้
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์
- การตรวจเอกซเรย์เต้านม
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง ลักษณะของมะเร็ง และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยการรักษามะเร็งเต้านมอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่
- การผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก ประกอบด้วย การผ่าตัดเต้านม และการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ดังนี้
การผ่าตัดที่เต้านมแบ่งเป็น
- การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมโดยตัดก้อนมะเร็งและเนื้อนมออกเพียงบางส่วนร่วมกับการฉายแสงหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่
- การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมดซึ่งอาจจะมีการเสริมสร้างเต้านมร่วมด้วย โดยการใส่ซิลิโคน หรือใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
- การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกทั้งหมด ปัจจุบันจะทำการผ่าตัดแบบนี้ในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้สูง เช่น แขนบวม หรือชาบริเวณรักแร้และต้นแขน
- การนำต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้มาตรวจ เป็นการผ่าตัดโดยนำกลุ่มต่อมน้ำเหลืองกลุ่มแรกที่เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายมาถึงก่อน ออกมาตรวจ โดยจะทำการฉีดสีพิเศษที่บริเวณเต้านมเพื่อจำลองการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม จากนั้นจะผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองกลุ่มนี้ออกมาเพื่อส่งตรวจทางวิธีพยาธิวิทยาด้วยวิธีแช่แข็ง โดยสามารถทราบผลในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในขณะผ่าตัด
ซึ่งหากไม่พบว่ามีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายมายังต่อมน้ำเหลืองกลุ่มนี้ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเลาะต่อมน้ำเหลืองเพิ่มเติม แต่หากมีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองกลุ่มนี้ จะต้องทำการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกทั้งหมด ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของการเลาะต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดในผู้ป่วยที่ยังไม่มีเซลล์มะเร็งพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองได้
- การฉายแสงหรือรังสีรักษาเป็นการฉายรังสีเข้าไปบริเวณที่เต้านมและหน้าอกเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ มักจะเป็นการรักษาที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมหรือใช้เป็นการรักษาเสริมในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองด้วย
- การใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโมเป็นการให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
- การใช้ยาต้านฮอร์โมนเป็นการให้ยาเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ต้องผ่านการส่งตรวจลักษณะของเซลล์มะเร็งก่อน หากตอบสนองต่อยาต้านฮอร์โมนจึงจะสามารถใช้ยาประเภทนี้รักษาได้ และต้องทานยาต่อเนื่อง 5-10 ปี
- การใช้ยาแบบพุ่งเป้าโดยยาจะมีความจำเพาะเจาะจงในการหยุดยั้ง หรือ ชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยส่งผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายเพียงเล็กน้อย จำเป็นต้องผ่านการตรวจลักษณะของเซลล์มะเร็งก่อนเช่นกัน
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นการให้ยาเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากร่างกาย การให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกันนี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ในมะเร็งเต้านมบางชนิดเท่านั้น
การป้องกัน มะเร็งเต้านม
การป้องกันอาจจะไม่สามารถทำได้ 100% แต่ก็ต้องตรวจคัดกรองด้วยตัวเอง หรือ สังเกตอาการของตนเอง ครับ หากพบอาการผิดปกติ ต้องรีบพบแพทย์โดยทันทีครับ
การป้องกันมะเร็งเต้านมสามารถทำได้ดังนี้
- ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ไม่สูบบุหรี่
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ทำประกันโรคมะเร็ง หรือ ทำประกันสุขภาพ ที่ดูแลคุ้มครองโรคร้ายแรง
มะเร็งเต้านมเป็นภัยร้ายที่ผู้หญิงต้องรู้ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม หากพบในระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ หรือถ้าหากมีความเสี่ยงก็สามารถทำประกันโรคมะเร็งได้เลยครับ สามารถปรึกษาอินชัวร์ฮับได้เลยนะครับ เรามีประกันโรคมะเร็ง ประกันสุขภาพ ที่ดูแลคุ้มครองโรคมะเร็งและโรคอื่นๆอีกมากมาย หายห่วงอุ่นใจแม้ยาวเจ็บป่วยแน่นอนครับ