โซเดียมในเลือดต่ำ

โซเดียมในเลือดต่ำ

โซเดียมในเลือดต่ำ

          ภาวะ โซเดียมในเลือดต่ำ เกิดได้จากหลายๆปัจจัย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำ ดื่มน้ำมากเกินไป ฮอร์โมนผิดปกติ ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เป็นต้น

          โซเดียม คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ระบบน้ำทั้งภายนอกและภายในเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบประสาทและระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ ต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะโซเดียมในเลือกต่ำ ก็จะมี ปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำกว่า 135 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร แต่ระดับปกติอยู่ที่ 135-145 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร ถ้ามีต่ำมากๆก็จะส่งผลต่อร่างกาย

อาการของผู้ที่ โซเดียมในเลือกต่ำ ซึ่งปริมาณโซเดียมอาจจะลดลงทีละน้อยก็จะค่อย ส่งผลต่อร่างกาย จนถึงระดับที่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ปกติ และจะมีอาการบ่งบอกเช่น

  • ปวดหัว เวียนหัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • สับสนมึนงง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง หรือกระตุก
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
  • อ่อนล้า หมดแรง
  • หมดสติ
  • ไม่ตอบสนอง

ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงขึ้นถ้าปริมาณ โซเดียมในเลือดต่ำลง โดยมีสาเหตุ เบื้องต้นดังนี้

  • ท้องเสีย หรือ อาเจียน ที่รุนแรงและเฉียบพลัน
  • การใช้ยาหลายตัว ซึ่งยาบางชนิดอาจจะส่งผลต่อระดับโซเดียมในเลือด เช่น ยากล่อมประสาท และยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำมากเกินไปซึ่งจะส่งผลให้เลือดในร่างกายมีความเจือจาง
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
  • มีความผิดปกติของต่อมหมวกไต
  • ฮอร์โมนผิดปกติในส่วนของ ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้แทนการขับปัสสาวะ
  • ระบบไต ทำงานผิดปกติ ขับโซเดียมในร่างกายมากเกินไป

ภาวะ โซเดียมในเลือดต่ำ อาจจะเกิดจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันโดยมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดดังนี้

  1. การใช้ยาบางชนิด
  2. การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อยเกินไป กินจืดมากเกินไป จนทำให้ร่างกายได้รับ โซเดียมที่น้อยเกินไป
  3. อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ร่างกาย ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  4. ดื่มน้ำมากเกินไป
  5. การเสียน้ำในร่างกายจาก อาการท้องเสีย อาเจียน หรือ เสียเหงื่อจากการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่ได้ดื่มน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสม

หากมีภาวะเสี่ยงของการใช้ชีวิต ก็ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนใครๆที่ยังแข็งแรงอยู่ก็อาจดูประกันสุขภาพติดไว้ เพื่อจะได้มีการประกันเรื่องค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้ว่าจะมีคนที่จะคอยช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเลือกรับการรักษาในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับเราได้อย่างทันท่วงที

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อการรักษาเยียวยาร่างกายตัวเอง เชิงป้องกันไม้ให้โซเดียมในเลือดต่ำ

  • การรักษาระดับน้ำในร่างกายให้สมดุล ทั้งในชีวิตประจำวัน หรือ ขณะออกกำลังกาย
  • การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ผู้หญิงควรดื่มวันละ 3 ลิตร ผู้ชายควรดื่มวันละ 4 ลิตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดื่มน้ำก็อาจจะต้องดูปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น ทำงานกลางแจ้งเสียเหงื่อมากบางท่านก็อาจจะดื่มได้มากกว่าที่บอกไว้ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ก็ไม่ควรดื่มน้ำทีละมากๆ ในครั้งเดียว ควรจิบบ่อยๆ และ ใน 1 ชั่วโมงไม่ควรดื่มน้ำเกิน 800 ML. ซึ่งจุดนี้สำคัญกว่ามาก  
  • การทานอาหารที่มีโซเดียมน้อยเกินไป การกินอาหารรสจืดมากเกินไป ก็อาจจะมีส่วน เพราะโซเดียมที่หาได้ง่ายที่สุด อยู่ในเกลือ หรือ อาหารที่มีรสเค็ม นั้นเอง
  • ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดเครียด ก็จะส่งผลดีต่อร่างกายได้ไม่น้อย
  • เลือกดื่นน้ำเกลือแร่ที่เหมาะสม หากร่างกายสูญเสีย เหงื่อจากการออกกำลังกาย หรือ ท้องเสีย

อินชัวร์ฮับขอแนะนำว่า โซเดียม ในร่างกายถ้ามีมากไปก็ไม่ดี หรือถ้า น้อยเกินไปก็ไม่เช่นกันดังนั้นการที่จะงด การกินเค็มทั้งหมดเลย กินอาหารจืดมากๆ ก็สามารถทำให้ร่างกายขาดโซเดียมได้เช่นกัน เพราะถ้ามีอายุที่มากขึ้น การดูดซึมของร่างกายก็จะลดต่ำลงดังนั้นก็ควรเลือกทานอาหาร ให้เหมาะ อาจจะสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักโภชนาการทางด้านอาหารสำหรับ ผู้ที่มีภาวะโซเดียมต่ำ ก็สามารถทำได้เช่นกัน อีกอย่างนึงที่เป็นการดูแลสุขภาพสามารถปรึกษาทำประกันสุขภากับอินชัวร์ฮับ ได้เลยนะครับ เราจะดูแลคุณ พร้อมช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านประกัน ได้เป็นอย่างดีแน่นอน ครับ      

ลองคุยก่อน เปลี่ยนใจได้ทุกเมื่อ

ให้ InsureHub ดูแลคุณ คุณสามารถกรอกข้อมูล เพื่อให้ผู้เชียวชาญของเราติดต่อคุณกลับ ในการเลือก ประกันที่คุณถูกใจ

    กรุณาฝากข้อความ ชื่อ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด